ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ-YCP

 

ระบบสุริยะ [Solar System]



ระบบสุริยะจักรวาล 

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ดาวเคราะห์8 ดวงกับดวงจันทร์ บริวารที่ค้นพบแล้ว 167 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบ แล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ดาวหาง สะเก็ดดาวและฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์

ดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงล าดับจาก ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน 




ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ 



ดวงอาทิตย์ (Sun)

   ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรง เกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนที่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงาน สำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลกมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่า คิดเป็นประมาณร้อยละ 99.86 ของมวลทั้งหมด ของระบบสุริยะ









ดาวพุธ (Mercury)

   ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด เป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 87.969 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตเห็นได้ยากที่สุด 

ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารและไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้าง ชั้นบรรยากาศ









ดาวศุกร์ (Venus)


   เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่2 ดาวศุกร์มีเส้นผ่านศูนย์กลาง เป็น 3 เท่าของดวงจันทร์และมีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธ และดาวอังคาร 2 เท่าตัว ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "ฝาแฝด" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวง จะเป็นวงรีวงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด







โลก (Earth)


 เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สาม จากดวงอาทิตย์และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์ เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต โลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500ล้านก่อน โลกมีอันตรกิริยะโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศ โดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา365.26 วัน เรียกว่า ปีซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเอง ประมาณ 366.26รอบ โลกมีดวงจันทร์เป็นส่วนประกอบ







ดาวอังคาร ( Mars)


   เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่ จากดวงอาทิตย์เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สอง ในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ 

   ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศ เบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาต และภูเขาไฟ หุบเขาทะเลทราย 

   ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลก ซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง







ดาวพฤหัส (Jupiter)


     เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่าง จากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่5 และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ 

   ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเร็วสูงที่สุด เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะ ทำให้มีรูปร่างแป้นเมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ 

   นอกจากชั้นเมฆที่ห่อหุ้มดาวพฤหัสบดี ร่องรอยที่เด่นชัดที่สุดบนดาวพฤหัสบดี คือ จุดแดงใหญ่ซึ่งเป็นพายุหมุนที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก





ดาวเสาร์ (Saturn)


   เป็นดาวเคราะห์ดวง ที่ 6 จากดวงอาทิตย์ถัดจากดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของระบบสุริยะ รองจากดาวพฤหัสบดี 

ดาวเสาร์เป็นดาวแก๊สยักษ์ที่มีรัศมีเฉลี่ยมากกว่าโลกประมาณ 9เท่า แม้ว่าจะมีความหนาแน่นเป็นหนึ่งในแปดของโลก ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตรที่เรียกว่าทรงกลมแป้นดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวง เดียวในระบบสุริยะ






ดาวยูเรนัส (Uranus)


    เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจาก ดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่7 ในระบบสุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 50,724กิโลเมตรนับได้ว่า

 มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับที่3 ในระบบสุริยะของเรา










ดาวเนปจูน (Neptune)


มีชื่อไทยว่าดาวเกตุเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

ลำดับสุดท้ายมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่4 รองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์







เรามาทบทวนเนื้อหากันเถอะ!! 








เกมลากวางดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ 


คลิกที่นี่











    



อ้างอิง https://www.edu-kpppao.go.th/scicenter/docs/e-books/solar-system.pdf 


ความคิดเห็น